การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอันตราย บรรจุภัณฑ์เคมีรุนแรง เพื่อการขนส่ง

9283 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอันตราย บรรจุภัณฑ์เคมีรุนแรง เพื่อการขนส่ง

การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอันตราย บรรจุภัณฑ์เคมีรุนแรง เพื่อการขนส่ง

การเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอันตราย บรรจุภัณฑ์เคมีรุนแรง เพื่อการขนส่งต้องเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสินค้าอันตรายแต่ละชนิดผ่านการทดสอบพร้อมได้รับ มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ UN Mark

เรามาทำความรู้จักและข้อควรทราบต่างๆสำหรับการเลือกบรรจุกภัณฑ์สำหรับส่งออกสินค้าอันตราย เคมีภัณฑ์รุนแรง มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ UN Mark สัญลักษณ์มาตรฐานบรรจุภัณฑ์สำหรับส่งออกสินค้าอันตราย เคมีภัณฑ์รุนแรง ตามข้อแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสิ่งของอันตราย (United Nations Recommendations on the Transport of Dangerous Goods)

UN Mark คืออะไร?


UN Mark หรือ สัญลักษณ์ UN เป็นเครื่องยืนยันว่าบรรจุภัณฑ์ได้รับการทดสอบ ตามบทบัญญัติของประมวลข้อบังคับ
ว่าด้วยการขนส่งสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ทางน้ำ (IMDG Code)
และข้อแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสิ่งของอันตราย (United Nations Recommendations on the Transport of Dangerous Goods)

  • ผ่านการทดสอบกับองค์กรที่ได้รับการยอมรับจากสหประชาชาติซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
  • มีหนังสือรับรองแสดงเครื่องหมายมาตรฐานบรรจุภัณฑ์สินค้าอันตรายตามหลักเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ


วิธีทดสอบ การรับรองบรรจุภัณฑ์ UN

การรับรองบรรจุภัณฑ์ UN ต้องทดสอบอะไรบ้างสำหรับการทดสอบมาตรฐานการขนส่งสินค้าอันตราย  บรรจุภัณฑ์ต้องผ่านการทดสอบตามเกณฑ์ของ UN สำหรับการขนส่งสินค้าอันตรายแต่ละประเภท ซึ่งจะผ่านการทดสอบดังนี้

ทดสอบความทนทานการตกกระแทก (Drop test)

 
ทดสอบความทนทานการเรียงซ้อน (Stacking Test)

ทดสอบคุณสมบัติป้องกันการรั่วซึม (Leakproofness)

ทดสอบความต้านทานความดันภายใน (Internal Pressure Test)
 
 
เลือกบรรจุภัณฑ์ UN ให้เหมาะสมได้อย่างไร ?

สำหรับการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมสำหรับบรรจุภัณฑ์เคมีรุนแรง การขนส่งสินค้าอันตราย สามารถดูหลักการเลือกบรรจุภัณฑ์ได้จากเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS หรือ Safty Data Sheet)

โดยดูข้อมูลพื้นฐานดังนี้

เลขอ้างอิง 4 หลัก แสดงสมบัติของสารอันตรายตามข้อกำหนด UN (UN number)

ชื่อที่ถูกต้องของการขนส่งสินค้าอันตราย (Proper Shipping Name)

คุณสมบัติทางเคมี สถานะทางกายภาพ ค่าความดันไอ และความหนาแน่นสัมพัทธ์
 
กลุ่มการบรรจุ (Packing Group)
 
จำแนกตามความอันตรายของสาร เพื่อดูกลุ่มการบรรจุได้ดังนี้

ระดับความเป็นอันตราย

I อันตรายมาก

II อันตรายปานกลาง

III อันตรายน้อย

ตัวอักษรแสดงกลุ่มการบรรจุ

X สำหรับกลุ่มการบรรจุ I, II และ III

Y สำหรับกลุ่มการบรรจุ II และ III

 Z สำหรับกลุ่มการบรรจุ III

สินค้าที่เกี่ยวข้อง : ถังพลาสติก แกลลอนพลาสติก

อ้างอิง

คู่มือการจำแนกความเป็นอันตรายของสารเคมีและการเลือกบรรจุภัณฑ์สำหรับวัตถุอันตรายเพื่อการขนส่ง. กรมโรงงานอุตสาหกรรม. กระทรวงอุตสาหกรรม
http://www.diw.go.th/km/haz/pdf/haz_pac.pdf 

บริษัท แสงรุ่งกรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้